วิเคราะห์สุขภาพ

รักษาร่างกายที่ดีที่สุดของคุณไว้

โภชนาการที่สมดุลจะช่วยมอบสารอาหารที่คุณต้องการเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด ทำให้น้ำหนักและรูปร่างที่ดีที่สุดที่สามารถเป็นไปได้ให้เกิดขึ้นกับตัวคุณได้

ใช้ตัวช่วยคำนวณด้านสุขภาพที่ใช้งานได้อย่างง่ายๆเหล่านี้ ช่วยให้คุณได้ตัดสินใจในทางเลือกเพื่อสุขภาพของคุณได้อย่างชาญฉลาด

Body Mass Index (BMI) คือ ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว / ความสูง ยกกำลังสอง

คำนวณหาค่า BMI วัดความอ้วน เพื่อประเมินหาไขมันส่วนเกินในร่างกาย เพื่อคำนวณความเสี่ยงในการเป็นโรค ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลร่างกาย เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่าง แพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ
ประโยชน์ใช้เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

BMI ดัชนีมวลกาย ชี้วัดความอ้วนผอม
ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5
คุณมีน้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.9
คุณมีน้ำหนักปกติและมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้
ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 23-24.9
คุณเริ่มจะมีน้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูงต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 25-29.9
คุณจัดว่าเป็นคนอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
ดัชนีมวลกายมากกว่า 30
คุณจัดว่าอ้วนระดับ2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติคุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง

Step_1 BMR ย่อมาจาก Basal Metabolic Rate หรือเราสามารถเรียกได้ว่าเป็นอัตราการเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน โดยค่าพลังงานนี้ร่างกายจะใช้ในการขับเคลื่อนระบบเเละควบคุมอวัยวะต่างๆในร่างกายค่ะ เรามาหาค่าพลังงานที่ใช้ในส่วนนี้กันก่อนค่ะ โดยการกรอกข้อมูลในเครื่องคำนวนด้านล่างนี้ค่ะ
Step_2 หลังจากเราได้ค่าการเผาผลาญ(ฺBMR) ที่เป็นพลังงานเพียวๆเเบบไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเเล้ว เราก็จะมาเพิ่มในส่วนของกิจกรรมอื่นๆตามลักษณะการใช้ชีวิต เช่น การทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือการไปออกกำลังกาย เพื่อหาค่าการเผาผลาญส่วนที่เพิ่มเติมลงไป (TDEE)
TDEE คือ Total Daily Energy Expenditure หรือ ค่าของพลังงานที่ใช้กิจกรรมอื่นในแต่ละวัน โดยเลือกจากกิจกรรมตาม list ด้านล่างค่ะ ค่าที่ออกมาจะได้ค่าของการเผาผลาญพลังงานที่เป็นค่าเพียวๆเเละค่าจากการทำกิจกรรมร่วมกันค่ะ
BMRx1.2 กลุ่ม..ออกกำลังกายน้อย ทำงานเเบบนั่งอยู่กับที่
BMRx1.3 กลุ่ม..ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา เเบบเบาๆ 1-3 วันต่อสัปดาห์
BMRx1.5 กลุ่ม..ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา ความหนักปานกลาง 3-5 วันต่อสัปดาห์
BMRx1.7 กลุ่ม..ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา หนัก 6-7 วันต่อสัปดาห์
BMRx1.9 กลุ่ม..ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา หนัก เเบบการซ้อมเพื่อเเข่งขัน เป็นระจำทุกวัน
Basal Metabolic Rate (BMR) Calculator

คลิกลิงค์>>> คำนวนระบบการเผาผลาญ(BMR,TDEE)

Step_3 Diet Planning
เมื่อเราได้ค่าการเผาผลาญพลังงานต่อวันออกมาเเล้ว ทีนี้จะเป็นการกำหนดเป้าหมายคร่าวๆเพื่อให้เราทราบว่าถ้าหากเราต้องการที่จะลดน้ำหนักให้ได้ตามระยะเวลาที่วางไว้ เราควรจะลดการรับพลังงานจากอาหารให้เหลือวันละเท่าไหร่
โดยการใส่เป้าหมายของน้ำหนักจำนวน กิโลกรัมที่ต้องการลดเเละระยะเวลาในการลด เเต่ระยะเวลาควรมีกรอบเวลาอยู่ที่ไม่น้อยกว่า 30 วัน เเละควรกำหนดเป้าหมายน้ำหนักเเบ่งเป็นระยะ ไม่ควรหักโหมจนเกินไป โดยเฉลี่ยนเเล้วการลดน้ำหนักที่ดีเเละทำให้มีสุขภาพที่ดีด้วยจะต้องอยู่ที่ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
ผลจากเครื่องคำนวนนี้จะเป็นพลังงานที่ต้องลด เเละ ปริมาณที่ใช้ได้ต่อวันค่ะ เเต่ต้องเตือนไว้ว่า ค่าที่ได้เป็นค่าที่ได้จากการคำนวนจากสูตรทางคณิตศาสตร์ ค่ะควรจะยึดไว้เป็นกรอบไว้คร่าวๆนะคะ เพื่อวางเเผนการลดน้ำหนักให้มีประสิทธิภาพ เพราะร่างกายเเต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ ระยะเวลาเเละผลลัพธ์อาจต่างกันค่ะ

การวัดเส้นรอบเอว
ดัชนีมวลกายบอกว่าน้ำหนักของคุณเกินค่าปกติ แต่ไม่ได้บอกว่าคุณเสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากไขมันที่สะสมในที่แตกต่างกัน จะมีผลเสียต่อสุขภาพต่างกัน คนที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันสะสมในอวัยวะภายในมาก จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอ่านที่นี่ เราจะรู้ว่าอ้วนลงพุงหรือไม่เราจะวัดจากเส้นรอบเอว

วิธีการวัด
– ใช้สายเมตรธรรมดา
– วัดรอบเอวเหนือสะโพก(ตรงสะดือ)
– ให้สายขนานกับพื้น
– อย่าให้สายรัดแน่เกินไป
– วัดขณะที่หายใจออกเต็มที่
26032315

Body Fat (เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายโดยรวม)
ซึ่งเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย เป็นตัวชี้วัดความอ้วน และบงบอกถึงความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง
26032330

 

เรียนรู้เพิ่มเติม..วิธีวัดปริมาณไขมันด้วยครีมหนีบหรือ FAT CALIPER

 

1901041045

 

ติดตามข้อมูลสาระสุขภาพดีๆเพิ่มเติมประจำวันได้ที่นี่>> Facebook  Page  LINE@